ซิ่นหัวแดงตีนก่าน

PDFพิมพ์อีเมล

68629666_2362696527158102_6243434451699761152_o

68624220_2362696690491419_6324014373249482752_n 68604368_2362698353824586_3285497033359622144_o


ซิ่นหัวแดงตีนก่าน
“ภูมิปัญญาบนผ้าผืนงาม ของชาวไทหล่ม”
ผ้า หนึ่งในผลงานศิลปะที่ถ่ายทอดเรื่องราว วัฒนธรรม รวมถึงอัตลักษณ์ของชนพื้นเมืองของแต่ละพื้นที่ ซึ่งจังหวัดเพชรบูรณ์ก็ได้มีการนำเอาผ้ามาถ่ายทอดและแสดงออกถึงอัตลักษณ์ของพื้นถิ่นที่โดดเด่นเช่นกัน หลายๆ ท่านที่เป็นชาวจังหวัดเพชรบูรณ์อาจเคยได้ยินผ้าถุงหรือผ้าซิ่นของชาวไทหล่มมาบ้าง แต่บางท่าน อาจไม่คุ้นหูนัก วันนี้เราจึงขอนำพาทุกท่านมารู้จักวัฒนธรรมที่โดดเด่นของชาวไทหล่มผ่าน ผ้า “ซิ่นหัวแดงตีนก่าน” ไปพร้อมๆ กัน

 

68463947_2362698510491237_4544114908572155904_o 68750994_2362698583824563_2195945980203892736_o


“ซิ่นหัวแดงตีนก่าน” หรือ ซิ่นหมี่คั่นน้อย ซิ่นหัวแดง ซิ่นตีนก่าน อัตลักษณ์แห่งผ้าทอของชาวไทหล่ม โดยใน 1 ผืน ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่ หัวซิ่นที่มีสีแดง ตัวซิ่นที่มีสีทึมประกอบด้วยลวดลายสวยงามหลากหลาย และตีนซิ่นที่เป็นลายก่านลวดลายขวางกับตัวซิ่น อันเป็นที่มาของ “ซิ่นหัวแดงตีนก่าน”
- หัวซิ่น...เป็นส่วนบนสุด เดิมใช้เหน็บพกไว้มองไม่เห็นจากภายนอก แต่ปัจจุบันนิยมเผยหัวซิ่นให้เห็นเพื่อแสดงความสวยงาม หัวซิ่นที่เป็นที่นิยมคือ “หัวซิ่นมัดย้อมสีแดง” ถือเป็นอัตลักษณ์หัวซิ่นของชาวไทหล่ม เป็นการนำผ้าขาวม้ามัดย้อมด้วยลวดลาย “ดอกยุ้ม” รูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดเล็กๆ คั่นเป็นห้องๆ แต่ละห้องจะมีดอกยุ้ม 5,7,9 ดอก แต่เดิมสีมัดย้อมเป็นสีแดงจากธรรมชาติจากสีของครั่งและฝาง นอกจากนี้ก็ยังมี หัวซิ่นคั่นขิดลาย หรือ หัวซิ่นขิดคั่น ที่ใช้เทคนิคการขิดเส้นด้ายทอเป็นหัวซิ่นอย่างงดงาม
- ตัวซิ่น...เป็นส่วนสำคัญที่ใหญ่ที่สุดละเป็นส่วนแสดงลวดลายความงดงามของผืนผ้า มีสีพื้นคุมโทนเป็นสีโทนมืดทึม เช่น ดำ น้ำเงินเข้ม ม่วงเข้ม น้ำตาลเข้ม เป็นต้น ส่วนลวดลายประดับเป็นลวดลายที่เกิดจากมัดหมี่ ส่วนใหญ่นิยมลายขนาดเล็ก ผสมผสานรวมกันอย่างกลมกลืนสวยงาม โดยการวางห้องของหมี่คั่น เป็น หมี่หลัก หมี่รอง หมี่ประกอบ สลับกันไป ประกอบด้วย ลายนา ลายปราสาท ลายราชวัตร ลายต้นผึ้ง ลายหมากจับ ลายกระเบื้องคว่ำหงาย ฯลฯ
- ตีนซิ่น...เป็นส่วนล่างสุดของซิ่น ซึ่งชาวไทหล่มนิยมใส่ตีนซิ่นแคบๆ ทอเป็นลายตามแนวนอนหรือลายขวางขนาดเล็ก ใช้สีพื้นเป็นสีเข้มคุมโทนเพื่อให้กลมกลืนกับตัวซิ่น แล้วใช้สีอื่นๆ เช่น แดง ขาว เขียว วางคั่นสลับลายขวาง เพื่อให้ตีนซิ่นดูโดเด่นสวยงาม เรียกว่า “ลายก่าน” ซึ่งคำว่า ก่าน ในภาษาท้องถิ่นหมายถึง ขวาง

68537191_2362698023824619_2992869787517845504_n 69052261_2362698450491243_5645745939499974656_o


จากภูมิปัญญาอันโดดเด่นของชาวไทหล่ม ในพื้นที่อำเภอหล่มสัก และอำเภอหล่มเก่า ถูกยกระดับความสวยงามบนผืนผ้าให้เป็นหนึ่งในผ้างามคู่เมืองมะขามหวาน จังหวัดเพชรบูรณ์ และในปัจจุบันได้มีการนำเอาซิ่นหัวแดงตีนก่านมาประยุกต์ใช้ในแต่งกายให้มีความทันสมัย เข้ากับสมัยนิยมมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการสืบสานและอนุรักษ์ความเป็นท้องถิ่นของจังหวัดเพชรบูรณ์ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์จึงขอเชิญชวนให้เยาวชนและคนรุ่นใหม่หันมาใส่ผ้าซิ่นหัวแดงตีนก่านของเราไปด้วยกัน...

ขอบคุณข้อมูล/ภาพ : หนังสือท่องเที่ยวอนุสรณ์สถานเมืองราด พ่อขุนผาเมือง องค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ หน้า 075

ศูนย์ประสานงานการเลือกตั้ง

31233

ข่าวประชาสัมพันธ์

มุม download

  • วารสาร "เพชรบูรณ์นิวส์" ฉบับที่ 95 (สิงหาคม - กันยายน 2567)

    01

ลิงค์เชื่อมโยงภายใน website

31233

bannerDatacenterPao 

banner_ita

 MeetingRoomPao2

baseInfo

banner-gis-1

webboardPao

ลิงค์เชื่อมโยงภายนอก website

 
 
COVID19_banner
1
173517
 



ปฏิทินกิจกรรม/การท่องเที่ยว

<< ธันวาคม 2024 >> 
 จ.  อ.  พ.  พฤ  ศ.  ส.  อา 
        1
  2  3  4  5  6  7  8
  9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031     

แบบสำรวจ

ท่านความพึงพอใจในการรับทราบข้อมูลข่าวสารขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์