ยลอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพเมืองเก่า

PDFพิมพ์อีเมล

137

แหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์  เมืองโบราณศรีเทพ
           อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ...เป็นโบราณสถานสำคัญของจังหวัดเพชรบูรณ์  สันนิษฐานกันว่าสร้างขึ้นในยุคขอมเรืองอำนาจ  มีอายุไม่ต่ำกว่า 1,000 ปี  อุทยานฯ มีพื้นที่ครอบคลุมโบราณสถานในเมืองเก่าศรีเทพ  ซึ่งมีชื่อเดิมว่า "เมืองอภัยสาลี" มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 2,889 ไร่  แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ เมืองส่วนใน  มีลักษณะเป็นรูปเกือบกลม  ที่ถายในเป้นที่ราบลอนคลื่น  มีสระน้ำ  หนองน้ำกระจายอยู่ทั่วไป พบซากโบราณสถานกว่า 70 แห่ง  บางแห่งได้รับการขุดแต่งบูรณะแล้ว  และเมืองส่วนนอก  มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าต่อกันบเมืองส่วนใน มีสระน้ำกระจายอยู่ทั่วไป  และพบโบราณสถานกระจายอยู่แบบเดียวกัน

138

          โบราณสถานสำคัญอยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพมีศิลปะที่งดงามตามแบบสถาปัตยกรรมขอม  ทั้งยีงมีโบราณวัตถุที่ขุดค้นพบบริเวณเมืองศรีเทพ  โดยเฉพาะปฏิมากรรมประเภทศิลา  บางส่วนได้นำไปจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร  เช่น เทวรูปพระนารายณ์  พระกฤษณะ  พระอาทิตย์ ฯลฯ

139

        เยือนโบราณสถานเขาคลังใน มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  หันหน้าไปทางทิศตะวันออก  ใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง  มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบทวารวดี  มีปฏิมากรรมปูนปั้นรูปคนและสัตว์  ได้แก่ รูปคนแคระ  สัตว์ในวรรณคดี  เช่น โค ครุฑ  ช้าง  แสดงท่าค้ำยันฐานโบราณสถาน  ประดับด้วยลายพรรณพฤกษา  และลายเรขาคณิต  คาดว่ามีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13-14  สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเพื่อเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนา  มี ธรรมจักรศิลา  ตั้งอยู่ด้านหน้าเขาคลังใน  ซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าเมืองศรีเทพเป็นเมืองโบราณในยุคทราวดีมาก่อน
        เยี่ยมมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์  นอกจากโบราณสถาน  โบราณวัตถุ  ภายในอุทยานฯ  ยังมีหลุมขุดค้นที่สำคัญทางประวัติศาสตร์  ได้แก่  หลุมขุดค้นโครงกระดูกมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์  มีจำนวนห้าโครง  ขุดพบเมื่อปี พ.ศ. 2531  หลุมลึกประมาณ 4 เมตร  โครงกระดูกที่สมบูรณ์เป็นมนุษย์เพศหญิง  หอนหงาย  หันหน้าไปทางทิศเหนือ  คาดว่าเป็นชุมแรกเริ่มมีอายุกว่าพันปีมาแล้ว  ก่อนที่จะพัฒนาเป็นสังคมที่มีศาสนาในเวลาต่อมา
         หลุมขุดค้นที่ 2  อยู่ใกล้กัน  มีความลึกประมาณ 2 เมตร  ขุดพบโครงกระดูกช้างที่มีสภาพสมบูรณ์มาก  สันนิษฐานว่าอาจเป็นช้างที่ตายเองตามธรรมชาติ  หรือช้างที่ตายขณะใช้ลากซุงเพื่อนำมาสร้างโบราณสถานแห่งนี้
         สักการะศาลเจ้าพ่อศรีเทพ  อยู่ใกล้ทางเข้าด้านขวามือ ลักษณะเป็นแท่งศิลา  คล้ายศิลาจารึก  มีลายจำหลักเป็นภาพสตรีหันข้าง  นุ่งผ้าถุง  กำลังเดินอยู่บนฐาน  ประดิษฐานอยู่ในเรือนไทย
ขนาดเล็กยกพื้นสูง  แสดงให้เห็นว่า "เจ้าพ่อศรีเทพ" ชาวบ้านเชื่อกันว่าเจ้าพ่อศรีเทพจะช่วยนำความสงบสุขมาสู่ชุมชน  จึงได้จัดงานบวงสรวงเป็นประจำทุกปี  ในช่วงขึ้น 3 ค่ำ  เดือน 3 (เดือนกุมภาพันธ์)
         ชมปรางค์สองพี่น้อง  ตั้งอยู่ด้านหลังศูนย์บริการข้อมูล  มีปรางค์สององค์  หันหน้าไปทางทิศตะวันตก  ฐานก่อด้วยศิลาแลง  เป็นศิลปะขอมแบบบาปวนต่อนครวัด

      ยลปรางค์ศรีเทพ อยู่ใกล้กับปรางค์สองพี่น้อง  หันหน้าไปทางทิศตะวันตก  บริเวณฐานก่อด้วยศิลาแลงแบบเดียวกับสถาปัตยกรรมขอมทั่วไป  เรือนธาตุองค์ใหญ่ก่ออิฐแบบเดียวกับปรางค์สองพี่น้อง  มีการขุดพบชิ้นส่วนทับหลังเป็นรูปสลักลวดลายต่างๆ

140

เดินทางสู่อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ
          อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ
อยู่ห่างจากตัวเมืองเพชรบูรณ์ประมาณ 130 กิโลเมตร  มุ่งหน้าไปตามทางหลวงหมายเลข 21 (สระบุรี-หล่มสัก)  ถึงหลักกิโลเมตรที่ 102  แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 2211  ไปอีกประมาณ 9 กิโลเมตร  จะเห็นป้ายบอกทางเข้าอยู่ด้านขวามือ
        เปิดให้เข้าชมทุกวัน  เวลา 08.00-16.00 น.  สำหรับผู้ที่สนใจเข้าชมเป็นหมู่คณะและต้องการวิทยากรบรรยาย  ติดต่อโดยตรงที่ โทรศัพท์ 0-5682-0122, 0-5682-0123

 

 


 

 

ศูนย์ประสานงานการเลือกตั้ง

31233

ข่าวประชาสัมพันธ์

มุม download

  • วารสาร "เพชรบูรณ์นิวส์" ฉบับที่ 95 (สิงหาคม - กันยายน 2567)

    01

ลิงค์เชื่อมโยงภายใน website

31233

bannerDatacenterPao 

banner_ita

 MeetingRoomPao2

baseInfo

banner-gis-1

webboardPao

ลิงค์เชื่อมโยงภายนอก website

 
 
COVID19_banner
1
173517
 



ปฏิทินกิจกรรม/การท่องเที่ยว

<< ธันวาคม 2024 >> 
 จ.  อ.  พ.  พฤ  ศ.  ส.  อา 
        1
  2  3  4  5  6  7  8
  9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031     

แบบสำรวจ

ท่านความพึงพอใจในการรับทราบข้อมูลข่าวสารขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์